THA 4104 วิชานี้จะประกอบไปด้วยบทหลักๆเพียง 5 บทเท่านั้น(ไม่รวมบทนำ).. และจะเน้นในส่วนที่เป็นบันเทิงคดี “เรื่องสั้น” เท่านั้น.. ถือว่าเป็นวิชาที่มีเนื้อหาไม่ยาวมากนัก สามารถท่องจำและจดจำได้ไม่โหดมาก(แต่ก็อย่าประมาท.. นะจ๊ะ..).. ในย่อความที่ผู้เขียนย่อไว้ให้พี่ๆน้องๆได้อ่านนี้ คัดมาแต่หัวข้อหลักและหัวข้อย่อยที่สำคัญ และควรท่องจำให้ได้ทั้งหมดเท่านั้น.. รายละเอียดปลีกย่อย รวมถึงตัวอย่างเรื่องสั้น ไปหาอ่านที่ห้องสมุดเอาได้นะครับ.. ชื่อเรื่องสั้นเดี๋ยวผมจะรวมไว้ให้ท้ายสุดนะครับ.. มีข้อซักถามอะไรทิ้งไว้ในคอมเม้นท์ด้านล่างได้ครับ.. ยินดีช่วยในฐานะพี่น้องรามคำแหงครับผม(ตอบเท่าที่รู้เด้อ)…..
บทนำ
เรื่องสั้น มีลักษณะดังต่อไปนี้
- เขียนเป็นร้อยแก้ว(ส่วนมาก)
- มีเหตุการณ์สำคัญเพียงสองสามเหตุการณ์
- มีตัวละครน้อยตัว
- สถานที่ที่เหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมักมีน้อยแห่ง
- เมื่ออ่านจบแล้วผู้อ่านควรได้รับความรู้สึกเดียว เช่น สยดสยอง, หวาดกลัว, เห็นอกเห็นใจ, ฯลฯ
- ภาษาที่ใช้ในเรื่องสั้นต้องกระทัดรัด ใช้คำอย่างประหยัด
- ควรมีความยาวไม่มากนัก ประมาณ 1,000 ถึง 15,0000 คำ
บทที่ 1 : กลวิธีในการเล่าเรื่อง
กลวิธีในการเล่าเรื่อง 5 ประเภท
- บุรุษที่หนึ่งซึ่งเป็นตัวละครสำคัญเป็นผู้เล่า (First-person narrator as a major character)
- บุรุษที่หนึ่งซึ่งเป็นตัวละครรองเป็นผู้เล่า (First-person narrator as a minor character)
- ผู้ประพันธ์ในฐานะผู้รู้แจ้งเห็นจริงทุกอย่างเป็นผู้เล่า (The author as an observer)
- ผู้ประพันธ์ในฐานะผู้สังเกตการณ์เป็นผู้เล่า (The author as an observer)
- บุรุษที่สามซึ่งเป็นตัวละครสำคัญเป็นผู้เล่า (The limited omniscient point of view)
บทที่ 2 : โครงเรื่อง
โครงเรื่องที่ดีและที่่ผู้อ่านนิยมนั้นจะต้องมี(เทคนิค)
1. ปัญหาหรือความขัดแย้ง (conflict)
1.1 ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน (man-against-man)
1.2 ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ( man-against-environment)
1.3 ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับตนเอง (man-against-himself)
2. ความใคร่รู้เรื่อง (suspense)
2.1 การบอกใบ้ให้ผู้อ่านทราบว่าจะมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในภายหลัง
2.2 การอุบเรื่องที่ผู้อ่านต้องการทราบไว้ก่อนเพื่อบอกให้ทราบเมื่อถึงเวลาอันสมควร
2.3 การสร้างเรื่องให้ตัวละครสำคัญอยู่ในสภาพที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก
2.4 การจบบทแต่ละบทโดยยั่วยุให้ผู้อ่านอยากรู้อยากเห็นต่อไป
3. เหตุประจวบหรือเหตุบังเอิญ (coincidence)
4. จบเรื่องของตนด้วยวิธีที่ทำให้ผู้อ่านคาดไม่ถึง
ลำดับขั้นของการเขียนเรื่อง
1. การอธิบายถึงสถานะการณ์ในตอนเปิดเรื่อง (Exposition)
2. ปัญหาเริ่มปรากฏ (Inciting Moments)3. การขยายตัวคลี่คลายของปัญหานั้น การดำเนินเรื่อง การพัฒนาเรื่อง (Development)
4. ปัญหาได้รับการแก้ไขและเกิดการเปลี่ยนแปลงทางใดทางหนึ่ง (Climax)5. การคลี่คลายเข้าสู่จุดจบ (Denouement and final suspense)6. จุดจบของปัญหา (Conclusion)
บทที่ 3 : ตัวละคร
การสร้างลักษณะนิสัยของตัวละคร (Characterization)
1.ด้วยการบรรยายรูปร่างลักษณะและอุปนิสัยตลอดจนความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร
2.ด้วยการกำหนดให้ตัวละครอื่นสนทนาหรือคิดเกี่ยวกับตัวละครตัวนั้น
3. ด้วยคำพูดหรือบทสนทนาของตัวละครนั้น
4.ด้วยการบรรยายความคิดของตัวละครนั้น
5.ด้วยการบรรยายการกระทำของตัวละครตัวนั้น
ประเภทของตัวละคร
1.ตามบทบาท
2. ตามลักษณะนิสัย
2.1ตัวละครหลายลักษณะ (round หรือ complex character)
2.2ตัวละครน้อยลักษณะ (flat หรือ simple character)
3.ตามพัฒนาการ
3.1ตัวละครพลวัต(dynamic character)
3.2ตัวละครสถิต(static character)
บทสนทนา
1.เพื่อช่วยดำเนินเรื่องแทนการบรรยายของผู้แต่ง
2.เพื่อช่วยให้รู้จักตัวละครในเรื่องทั้งรูปร่างลักษณะหน้าตาและนิสัยใจคอ
3.เพื่อช่วยให้มีวิธีการไม่ซ้ำซาก
4.เพื่อสร้างความสมจริง
การตั้งชื่อตัวละคร
การตั้งชื่อตัวละครควรให้เหมาะสมกับรูปร่างหน้าตา, เพศ, อาชีพ, และสภาพทางสังคมของตัวละครแต่ละตัว
บทที่ 4 : ฉาก
ผู้ประพันธ์มักจะสร้างฉากด้วยวิธีต่อไปนี้
1.ด้วยการบรรยายของผู้ประพันธ์เองหรือด้วยการให้ตัวละครบรรยาย
2.ด้วยการใช้ภาษาถิ่น
3.ด้วยการกล่าวถึงสิ่งแวดล้อมอื่นๆของตัวละคร
4.ด้วยการใช้ภูมิหลัง
บทที่ 5 : สารัตถะ(Theme)
เขียนสารัตถะอย่างไรจึงจะถูกต้อง
1.คำบรรยายสารัตถะจะต้องเขียนเป็นประโยค
2.สารัตถะของเรื่องจะต้องกล่าวเป็นกลางๆ
3.ไม่ควรให้กว้างขวางจนครอบคลุมไปหมดทุกอย่าง
4.สารัตถะจะต้องสอดคล้องกับรายละเอียดของเรื่องด้วย
5.เรื่องเดียวกันอาจใช้ภาษาบรรยายได้หลายอย่าง
6.พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ข้อความที่เป็นภาษิตหรือคำพังเพย
รวมรายชื่อเรื่องสั้นทั้งหมดภายในหนังสือ
- ส้มจากซิซิลี
- เหมือนฝันร้าย
- มาดาม เดอ ลูซี
- หนูน้อยโทบราห์
- ฆาตกร
- ปีศาจเฒ่า
- ศัตรู
- คุณหนู
- พ่อ
- มัจจุราช
- ผีหลอก
- เนื้อคู่
- เหมืองเงิน
- ก่อนถูกประหาร