แชร์ลงโซเชียลมีเดีย

บทนำ

การใช้ภาษา คือ การนำภาษามาใช้เพื่อสื่อความหรือสื่อสาร การสื่อความหรือสื่อสารมีผู้เกี่ยวข้องกันสองฝ่ายคือ ผู้ส่งความ กับ ผู้รับความ หรือ ผู้ส่งสาร กับ ผู้รับสาร

ผู้ส่งความหรือผู้ส่งสารใช้การพูดกับการเขียนเป็นเครื่องมือ ส่วนผู้รับความหรือผู้รับสารใช้การฟังและการอ่านเป็นเครื่องมือ

การใช้ภาษาจะมีประสิทธิภาพได้ก็ต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายเข้าใจความหรือสารได้ตรงตามความต้องการ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีข้อบกพร่องในการใช้เครื่องมือของตน การสื่อความหรือสื่อสารนั้นย่อมมีปัญหา

มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความพร้อมที่จะ เรียนรู้ และ เลียนแบบ ภาษา ไม่มีเด็กคนใดที่เกิดมาก็สามารถที่จะพูดได้ทันที มีแต่ความสามารถที่จะรับรู้ข้อมูลทางด้านภาษาจากรอบตัวเข้ามา แล้ววิเคราะห์หาหลักว่าภาษาที่ได้รับมานั้นมีลักษณะอย่างไร ถ้าจะสร้างเองจะต้องทำอย่างไร เมื่อรู้หลักแล้วก็มีการจดจำและเลียนแบบข้อมูลที่ได้รับไปเรื่อยๆ

“เป็นที่ยอมรับกันว่า เมื่อเด็กอายุ 5 ขวบ แต่ละคนจะสามารถพูดภาษาพื้น
เมืองได้ดี (ทั้งนี้รวมทั้งการฟังด้วย) คือ ออกเสียงได้ชัดเจนและพูดถูกต้อง
ตามหลักไวยากรณ์ของภาษานั้น ๆ แต่คำศัพท์ที่รู้อาจจะมีจำนวนจำกัด ส่วน
การเขียนการอ่านนั้นจะต้องเรียนกันอย่างจริงจัง ส่วนใหญ่ก็เรียนจากโรง
เรียน…”

(วิจินตน์ ภาณุพงศ์ ๒๕๔๐๔)

กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ พ่อ แม่ ญาติ พี่น้อง ที่เข้ามาพูดจาด้วยนั้นช่วยให้ตัว
อย่างประโยค และช่วยเพิ่มคำให้แก่พจนานุกรมในหัวของเด็ก เด็กไทยไปเติบโตเมืองฝรั่ง ได้ข้อมูลเป็นภาษาฝรั่งก็พูดภาษาฝรั่ง เด็กฝรั่งมาเติบโตในเมืองไทย ได้ข้อมูลเป็นภาษาไทย ก็พูดภาษาไทย ถ้าได้ข้อมูลหลายภาษาในเวลาเดียวกัน เด็กคนนั้นก็จะเป็นคนพูดได้หลายภาษา

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบแล้วว่า มนุษย์เท่านั้นที่มีความสามารถในการควบ
คุมกล่องเสียง ลิ้น และปากให้สร้างเสียงต่างๆได้อย่างชัดเจน สัตว์ไม่มีความสามารถในด้านนี้ นอกจากนี้มันก็ยังไร้ความสามารถในด้านไวยากรณ์และการสร้างประโยคอีกด้วย จากการวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ นักวิจัยชาวเยอรมันได้ค้นพบว่า มนุษย์เท่านั้นที่มีจีน(gene) พิเศษที่ทำให้มีพรสวรรค์ในด้านภาษา (The Nation 2002: 11A)

โครงสร้างของประโยคนั้นมีอยู่ไม่มาก มนุษย์สามารถรับรู้และสร้างประโยคทุกชนิดในภาษาของตนได้ในเวลาไม่นานนัก แต่ข้อมูลทางด้านคำนั้นมีไม่เท่ากัน แล้วแต่ประสบการณ์ของแต่ละบุคคลประสบการณ์ที่ว่านี้ หมายรวมทั้งครอบครัว การศึกษา สังคม ฯลฯ

เมื่อก่อนนี้มนุษย์รับข้อมูลโดยธรรมชาติ กล่าวคือรับจากครอบครัว โรงเรียน
และสังคมในวงแคบเท่านั้น แต่ทุกวันนี้ข้อมูลเข้ามาจากแหล่งต่างๆมากมาย ทั้งโดยธรรมชาติ และผิดธรรมชาติ ความสามารถในการเลียนแบบของมนุษย์ก็ได้ทำงานอย่างเต็มที่ คำที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ไม่เคยสั่งสอน เด็กก็สามารถที่จะใช้ได้ แต่จะเข้าใจหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น เด็กชายวัย ๓-๔ ขวบ เวลาอยู่ในสวนสนุก ก็สามารถจะพูดได้ว่า “เอขอ ควบคุมยานอวกาศ นะฮับ” หรือ เด็กหญิงวัยเดียวกันก็อาจจะพูดกับคุณยายได้ว่า “จุนยายจายก มรดก ให้มีไม้คะ” ซึ่งพอจะเดากันได้ว่าคงจะได้มาจากภาพยนตร์ โทรทัศน์ หรือ การ์ตูน นั่นเอง หรือเด็กบางคนก็อาจจะพูดได้ว่า “ฮ่วย แซบอีหลี” ทั้งๆที่พ่อแม่ก็พูดแบบนั้นไม่เป็น ซึ่งก็คงจะเดากันได้ไม่ยากว่าเอามาจากไหน


นี่คือธรรมชาติของชีวิตปัจจุบันที่แหล่งข้อมูลมีมากกว่าสมัยก่อน ครอบครัว
และโรงเรียนไม่ใช่สถาบันเพียง ๒ สถาบันที่จะเป็นแหล่งข้อมูลอีกต่อไป


มีรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งนำเด็กอายุไม่เกิน ๘ ขวบมาถามความหมาย
ของคำ คำตอบของเด็ก ๆ เป็นข้อพิสูจน์เรื่องการมีข้อมูลไม่เท่ากันได้เป็นอย่างดี เช่นเด็กบางคนให้ความหมายของ “ดาวเทียม” ว่า “ดาวใส่กระเทียม” หรือ ให้ความหมายของ “เด็กแก่แดด” ว่า “เด็กที่อยู่ในแดดนาน ๆ”

ในปัจจุบันภาษาในโลกนี้มีมากกว่า ๓,๐๐๐ ภาษา นักภาษาศาสตร์ได้
พยายามจัดหมวดหมู่ภาษาเหล่านี้โดยใช้หลักเกณฑ์ต่าง ๆ มากมาย เช่น ลักษณะโครงสร้าง สายกำเนิด และคลื่นภาษา เพื่อแสดงให้เห็นความเหมือน ความแตกต่างและความสัมพันธ์ของภาษาต่าง ๆ เหล่านั้น


อย่างไรก็ตามภาษาทุกภาษาในโลกนี้ ถ้ายังมีผู้ใช้กันอยู่ย่อมต้องมีความ
เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา ภาษาที่ไม่มีความเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นอีกเลย ก็คือภาษาที่ตายแล้ว ซึ่งหมายความว่าผู้ที่ใช้ภาษานั้น ๆ ตายหมดแล้วนั่นเอง นอกจากจะมีความเปลี่ยนแปลงในตัวเองแล้ว ภาษาที่ยังไม่ตายก็ยังมีความเกี่ยวข้องกับภาษาต่างประเทศด้วย หากผู้ใช้ภาษานั้น ๆ มีการติดต่อกับผู้ที่ใช้ภาษาอื่น ๆ


ภาษาไทยก็อยู่ในลักษณะนี้เช่นกัน แต่เดิมมาเราก็มีความเกี่ยวข้องกับ
ประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงเท่านั้น เช่น ทางการเมือง มีความเกี่ยวข้องกับมอญ เขมร ญวน พม่า มลายู ทางวัฒนธรรมมีความเกี่ยวข้องกับ จีน อินเดีย แต่ในปัจจุบันนี้ เรามีความเกี่ยวข้องกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น ทางการค้า มีความเกี่ยวข้องกับสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ฯลฯ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความเกี่ยวข้องกับสหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น เป็นต้น


ความเกี่ยวข้องในทางภาษาที่มองเห็นได้ชัดก็คือการมีคำยืมจากภาษาต่าง
ประเทศ ถ้าเป็นคำที่ยืมกันมานานแล้วผู้ใช้ภาษาในปัจจุบันก็อาจจะไม่รู้สึกว่าเป็นคำที่มีที่มาจากภาษาต่างประเทศเช่น บาป บุญ คุณ โทษ จมูก เก้าอี้ ถ้าเป็นคำใหม่ก็อาจจะไม่คุ้นหูในตอนแรก แต่เมื่อใช้ไปนานเข้าก็สื่อกันได้ เช่น โอเค โหวต เคลียร์ เบลอร์ ซีเรียส คอมพิวเตอร์ คำบางคำอาจจะใหม่มากเกินไปสำหรับคนทั่วไป จึงอาจจะสื่อความไม่ได้ เช่น “คนที่ทำเรื่องนี้ต้องการจะดิสเครดิตเขา” แต่ไม่นานก็คงจะสื่อกันรู้เรื่องถ้าได้ยินและเห็นตัวอย่างของการกระทำดังว่ามากขึ้น

*1หนังสือ The Cambridge Encyclopedia of Language ของ David Crystal ให้ข้อมูลไว้ว่า ตำราเล่มต่าง ๆ ให้จำนวนภาษาไว้ต่าง ๆ กัน อาจจะมีตั้งแต่ ๓๐๐๐ ถึง ๑๐,๐๐๐ ภาษา ทั้งภาษาที่ยังใช้กันอยู่และภาษาที่ตายไปแล้ว

การสื่อสารอันฉับไวในปัจจุบันมีส่วนช่วยทำให้ผู้คนคุ้นเคยกับคำใหม่ ๆ และ
สำนวนใหม่ ๆ ได้เร็วยิ่งขึ้น ประโยคอย่าง เรื่องนี้ถูกตรวจสอบโดยละเอียดแล้วโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายเรา” กับ “อาหารนี้ง่ายต่อการกิน” แม้จะฟังชัดหูในตอนนี้ แต่ต่อไปก็อาจจะใช้กันไปทั่ว เพราะได้ยินอยู่ทุกวันจนเกิดความเคยชิน ใครจะรู้ได้ว่าเมื่อตอนที่คนไทยหัดใช้คำว่า จมูก กับ เก้าอี้ใหม่ ๆ นั้น อาจจะมีคนบางกลุ่มไม่พอใจก็ได้


ระยะทางและเวลาไม่ใช่อุปสรรคขวางกั้นความกลมกลืนของภาษาดังในอดีตอีกต่อไปแล้ว โลกกำลังจะกลายเป็นโลกเดียวกันด้วยการสื่อสารอันสะดวกและรวดเร็วปานใด ภาษาก็อาจจะกลายเป็นภาษาเดียวกันไปได้อย่างรวดเร็วปานนั้น จาก ๓,000 ภาษา อาจจะกลมกลืนกันไปจนเหลือเพียงไม่กี่ภาษา หรืออาจจะเหลือเพียงภาษาเดียวก็ได้


สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงก็คือไม่มีสิ่งที่เรียกว่าภาษาบริสุทธิ์ในโลกนี้ ภาษาทุก
ภาษาต้องมีการเปลี่ยนแปลง ภาษาทุกภาษาต่างก็ได้รับอิทธิพลและต้องปนกับภาษาอื่น ๆ บ้าง (สุวิไล เปรมศรีรัตน์ ๒๕๓๑-๒๒๔)


แม้จะยอมรับกันว่าภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลง แต่ภาษาส่วนใหญ่ในโลกก็มี
สิ่งที่เรียกว่า “ภาษามาตรฐาน (Standard language) และมีปัญหาการใช้ภาษาเกิดขึ้นด้วย ทั้งนี้เพราะสมาชิกบางส่วนในสังคมใช้ภาษาผิดไปจากมาตรฐานที่สมมติกันขึ้นในสังคมนั้นเอง


ภาษาไทยมาตรฐานหรือภาษาราชการ (official language) ของประเทศไทย
หมายถึงภาษาไทยรูปแบบหนึ่งซึ่งยอมรับใช้กันในการจัดพิมพ์และเขียน เป็นรูปแบบของภาษาที่สอนกันในโรงเรียน นอกจากนี้ยังเป็นภาษาที่ผู้มีการศึกษาใช้ และเป็นภาษาที่ใช้ในการรายงานข่าวทางวิทยุ โทรทัศน์และในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะเดียวกันนี้ด้วย ภาษาไทยมาตรฐานในปัจจุบันคือภาษาไทยกรุงเทพฯ ซึ่งนับว่าเป็นภาษาถิ่นภาษาหนึ่ง


อย่างไรก็ตามภาษาไทยมาตรฐานก็เป็นเพียงแบบหนึ่งของภาษาไทยซึ่งมีอยู่
มากมายหลายแบบ เช่น ภาษาถิ่นภาคพายัพ ภาษาถิ่นภาคอีสาน ภาษาถิ่นภาคใต้เพียงแต่ว่าภาษาไทยมาตรฐานนั้นมีความสำคัญกว่าแบบอื่นๆ ในแง่สังคมเท่านั้น

หากจะกล่าวในเชิงภาษาศาสตร์แล้ว ภาษาไทยมาตรฐานก็ไม่ได้ดีไปกว่าภาษาไทยแบบอื่นแต่ประการใด ภาษาทุกภาษาและภาษาเฉพาะกลุ่มทุกภาษาต่างก็มีระบบดีเท่า ๆ กัน ในแง่ของระบบทางภาษาศาสตร์ภาษาทุกรูปแบบเป็นระบบที่โครงสร้างความซับซ้อนและมีกฏเกณฑ์เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้ภาษานั้น ๆ ทั้งนี้เพราะไม่มีคุณสมบัติใด ๆ เลยของภาษาที่ไม่เป็นมาตรฐานอันจะทำให้ภาษานั้น ๆ ด้อยกว่าภาษาที่เป็นมาตรฐาน


ในบางประเทศ รัฐบาลหรือผู้นำประเทศจะเป็นผู้เลือกภาษาประจำชาติ
(national language) ในบางครั้งก็ต้องพัฒนาตัวอักษรที่เหมาะสม หรือเป็นผู้ตัดสินว่าควรจะเลือกเอาภาษาเฉพาะกลุ่มภาษาใดหรือลักษณะทางภาษาลักษณะใดมาประกอบในการพัฒนาภาษาประจำชาติด้วย


ใน พ.ศ. ๒๕๓๖ สหรัฐอเมริกามีปัญหาถกเถียงกันว่าควรจะมีภาษาราชการ
หรือไม่

ในขณะที่ชาวต่างด้าวพากันหลั่งไหลเข้ามาสู่สหรัฐฯก็เกิดมีความเคลื่อนไหว
กันขึ้นมาว่าน่าจะประกาศให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของชาติ ฝ่ายสนับสนุนกล่าวว่าประเทศกำลังจะถูกแบ่งแยกด้วยภาษาและวัฒนธรรม เพราะไม่มีภาษาราชการ ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็เถียงว่า ถ้าทำอย่างนั้นก็เท่ากับเป็นการกีดกันชาวอเมริกันถึง ๗ ล้านคนที่พูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้หรือไม่ได้เลย


ทั้งสองฝ่ายต่างก็อ้างว่าชาวอเมริกันส่วนใหญ่เห็นด้วยกับตน แต่อันที่จริงก็ยังมี
ชาวอเมริกันอีกมากมายที่ยังไม่รู้ว่าเขาเถียงกันเรื่องนี้ และมีอีกมากมายที่นึกว่า
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการอยู่แล้ว หากจะหันไปดูประเทศอื่นบ้าง ก็ปรากฏว่าประมาณ ๑ ใน ๓ ของประเทศในโลกนี้มีภาษาราชการ


ในสหรัฐฯนั้นมีภาษาที่ใช้กันอยู่ถึง ๑๕๓ ภาษา องค์กร US English จึงคิด
ว่าน่าจะมีอะไรเป็นเครื่องเชื่อมโยงและพยายามผลักดันให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ องค์กรนี้มีสมาชิกถึง ๔๐๐,๐๐๐ คนแล้ว และมีสมาชิกสภาคองเกรสสนับสนุนถึง ๑๔๐ คน ส่วนพวกที่ไม่เห็นด้วยก็ประกอบด้วย American Liberties Union (ACLU),National Education Association และกลุ่มสิทธิมนุษยชนชาวสแปนิก กลุ่มนี้เห็นว่านโยบายภาษาราชการจะทำให้สหรัฐฯสูญสิ้นความหลากหลายอันเป็นลักษณะสำคัญของสหรัฐฯเอง


ในช่วงเวลาหนึ่งมีรัฐต่าง ๆ ในสหรัฐฯ ๑๙ รัฐได้ประกาศให้ภาษาอังกฤษเป็น
ภาษาราชการไปแล้ว กฎหมายที่กำลังผลักดันกันอยู่ในขณะนี้เพียงแต่ขอให้ระบุว่ารัฐบาลสหรัฐฯไม่ต้องทำเอกสารหรือให้บริการเป็นภาษาอื่นใดนอกจากภาษาอังกฤษ หรือไม่ต้องบังคับให้โรงเรียนสอนหนังสือด้วยภาษาอื่นใดนอกจากภาษาอังกฤษ


เปอร์โตริโกก็เคยมีการเสนอให้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาสเปนเป็นภาษาราช
การ ฝรั่งเศสก็เพิ่งมีกฎหมายเรื่องภาษาราชการเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
ส่วนสหรัฐฯในสมัยประธานาธิบดีบุชนั้น เขาไม่เห็นด้วยกับเรื่องภาษาราชการ แต่ประธานาธิบดีคลินตันเคยให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของอาร์คันชอในปี พ.ศ.๒๕๓๐ ในสมัยที่ยังเป็นผู้ว่าการรัฐ


สำหรับประเทศไทยนั้น เป็นที่ยอมรับกันว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรง
เป็นผู้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ ดังที่ปรากฏอยู่ใน ศิลาจารึก หลักที่ 9
จากนั้นตัวอักษรไทยก็มีวิวัฒนาการมาโดยตลอด จนกระทั่งมีรูปแบบดังที่ยอมรับกันอยู่ในปัจจุบันนี้ รัฐบาลเป็นผู้ที่สนับสนุนการทำภาษาให้เป็นมาตรฐานมาโดยตลอด ทั้งนี้เพื่อทำให้การติดต่อสื่อสารง่ายขึ้น เพื่อให้มีตัวอักษรประจำภาษา และเพื่อให้ตำราเรียนมีรูปแบบเดียวกันหมด หน่วยงานของรัฐบาลในปัจจุบันซึ่งทีหน้าที่ดังกล่าวนี้ก็คือ ราชบัณฑิตยสถาน โดยมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้ใช้ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นมาตรฐานสำหรับใช้ในการเขียนหนังสือไทยเพื่อให้เป็นระเบียบเดียวกัน และบรรดาหนังสือราชการและการศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนให้ใช้สะกดตามระเบียบและพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒เสมอไป


*2 ในเดือนสิงหาคม ๒๕๔๖ ยูเนสโกได้มีมติให้ ติลาจารึก หลักที่ ๑ เป็นมรดกความทรงจำของโลก ถึงแม้ว่าจะมีนักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราช มิได้ทรงสร้างศิลาจารึก หลักที่ 1 ขึ้นก็ตาม

นอกจากนี้ในคำนำเมื่อพิมพ์ครั้งที่หนึ่งก็ได้คัดนโยบายในด้านการศึกษาของรัฐ
บาลในสมัยนั้นขึ้นมากล่าวในตอนหนึ่งว่า”ในด้านการศึกษาของประชาชนโดยทั่วไปรัฐบาลนี้จะให้เรียนรู้และใช้ภาษาไทย โดยให้สำนึกว่า ภาษาไทยคือภาษาประจำชาติที่พลเมืองไทยทุกคนจะต้องใช้ให้ถูกต้องและทัดเทียมกัน…”


กล่าวโดยสรุปก็คือ ภาษาประจำชาติของประเทศไทยคือภาษาไทยซึ่งมิได้ระบุ
ว่าเป็นภาษาไทยถิ่นไหน แต่ภาษาไทยมาตรฐานนั้นคือภาษาไทยกรุงเทพฯ และการเขียนภาษามาตรฐานหรือภาษาราชการนั้นให้ถือตามที่กำหนดไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


อย่างไรก็ตามการใช้ภาษาก็เหมือนกับกิจกรรมทางสังคมทั่ว ๆ ไป นั่นคือ จะ
ต้องใช้ให้เหมาะสมกับผู้พูด การแสดงออกทางวาจาไม่เพียงแต่จะต้องเหมาะสมกับบุคคลแต่ละคนเท่านั้น แต่ยังจะต้องเหมาะสมกับโอกาสและสถานการณ์แต่ละครั้งด้วยการใช้ภาษาก็เช่นเดียวกัน ภาษานั้นมีความแตกต่างกันไม่เพียงแต่ในด้านลักษณะทางสังคมของผู้พูดเท่านั้น แต่ยังแตกต่างกันในด้านลักษณะแวดล้อมทางสังคมของผู้พูดด้วย ผู้พูดคนเดียวกันก็อาจจะใช้ภาษาต่าง ๆ กันไปได้ในสถานการณ์ที่ต่างกัน และเพื่อจุดประสงค์ที่ต่างกัน นอกจากนี้ภาษาก็อาจจะมีลักษณะต่างกันในแง่ที่เป็นภาษาเขียนหรือภาษาพูดอีกด้วย


ผู้ใช้ภาษาบางคนอาจจะมีปัญหาในด้านการใช้ภาษามาตรฐาน การแก้ปัญหา
เช่นนี้มีอยู่หลายวิธี วิธีที่ ทรัดจิดล์ (Trudgill) ถือว่าดีที่สุดมีอยู่ ๒ วิธี คือ วิธีที่เรียกว่า”การมีภาษาเฉพาะกลุ่ม ๒ ภาษา” กับ “การยอมรับความแตกต่างของภาษาเฉพาะกลุ่ม” “การมีภาษาเฉพาะกลุ่ม ๒ ภาษา” เป็นวิธีที่ได้รับความสนับสนุนจากนักภาษาศาสตร์หลายคน วิธีนี้สอนว่าแต่ละบุคคลมีสิทธิที่จะคงใช้ภาษาเฉพาะกลุ่มที่ไม่ใช่ภาษามาตรฐานที่บ้านกับเพื่อนและที่โรงเรียนในบางสถานการณ์ได้ แต่ก็สนับสนุนว่าควรสอนภาษามาตรฐานให้แก่เด็ก ๆ ในฐานะเป็นภาษาของโรงเรียนและในฐานะเป็นภาษาของการอ่านและการเขียน โดยอาจจะชี้ให้เห็นว่าสำเนียงบางอย่างหรือการใช้คำบางคำมีค่านิยมสูงกว่าสำเนียงอื่น ๆ หรือคำอื่น ๆ แต่ต้องชี้แจงว่านั่นเป็นเรื่องการสมมติในสังคม ไม่ใช่ลักษณะทางภาษาศาสตร์

ปัญหาการใช้ภาษาไทยอันหมายถึงการใช้ภาษาที่เบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานมี
อยู่หลายเรื่อง เช่น การออกเสียง การเขียนคำ การอ่านคำ การเลือกใช้คำ การทับศัพท์ การบัญญัติศัพท์ การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน ฯลฯ


ตำราเล่มนี้จะได้กล่าวถึงเรื่องเหล่านี้โดยละเอียดต่อไป


กิจกรรม
ภาษามาตรฐาน ภาษาราชการ ภาษาประจำชาติ ของประเทศไทยคืออะไร

บทที่ ๑
ปัญหาการออกเสียง
1.1 ความนำ
เสียงในภาษาไทยแบ่งออกเป็นเสียงสระ เสียงพยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์
ในด้านการใช้ภาษานั้น มักจะไม่ค่อยมีปัญหาในด้านเสียงสระ เช่น เสียง สระโอ ในคำ
ว่า โสง ที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่หนึ่ง สมัยพอขุนรามคำแหงมหาราชนั้น ได้
เปลี่ยนมาเป็นเสียงสระออ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในคำว่า สอง บัดนี้
เวลาได้ผ่านมาร่วม ๓๐
0 ปีแล้ว ภาษาไทยมาตรฐานก็ยังคงเสียง สระออ นันอยู่
(พิณทิพย์ ทวยเจริญ ๒๕๓๙.๔) ปัญหาในด้านการออกเสียงมักจะเกิดที่เสียง
พยัญชนะกับเสียงวรรณยุกต์ จึงจะกล่าวถึงแต่เรื่องปัญหาการออกเสียงพยัญชนะ
และปัญหาการผันเสียงวรรณยุกต์เท่านั้น
๑.๒ เสียงพยัญชนะ
พยัญชนะในภาษาไทยนั้นเมื่อคำนึงถึงรูปมีอยู่ ๔๔ รูปซึ่งยังใช้อยู่เพียง ๔๒
รูปเท่านั้น ส่วน ๆ ฤา ภๆ ภา นั้นในทางภาษาศาสตร์ถือว่าเป็นพยางค์ ถึงแม้ว่าใน
ภาษาสันสกฤตจะถือว่าเป็นสระก็ตาม
ในหมู่พยัญชนะ ๔๒ รูปนี้เมื่อคำนึงถึงเสียง ปรากฏว่าเมื่อเป็นพยัญชนะต้นจะ
มีเพียง ๒๑ เสียง และเมื่อเป็นพยัญชนะท้ายคำหรือตัวสะกดจะมีเพียง 8 เสียง ซึ่ง
ดี้
เรียกว่า แม่กก แม่กง แม่กด แม่กน แม่กบ แม่กม แม่เกย และ แม่เกอว
พยัญชนะท้ายคำที่นับว่าเป็นแม่กก ได้แก่ กขคฆ
พยัญชนะท้ายคำที่นับว่าเป็นแม่กง ได้แก่ ง
พยัญชนะท้ายคำที่นับว่าเป็นแม่กดได้แก่ จอ (ถ้ามีคำ) รรณ (ถ้ามีคำ) ภฏ
ฐๆ ฒดดถทธศษส
พยัญชนะท้ายคำที่นับว่าเป็นแม่กน ได้แก่ น ณ รลทัญ
พยัญชนะท้ายคำที่นับว่าเป็นแม่กบ ได้แก่ บปผ (ถ้ามีคำ) ฝ (ถ้ามีคำ) พฟภ


แชร์ลงโซเชียลมีเดีย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: ชอบบทความ กรุณาส่งลิงก์มาที่นี่แทนนะครับ อย่าก็อปปี้บทความไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาตเด็ดขาด..